โอโซนคืออากาศที่ดี หรือเป็นอากาศที่มีอันตรายกันแน่??
โอโซน คืออะไร
โอโซนเข้มข้นมีสีฟ้าที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน (Standard Temperature and Pressure; STP) เมื่ออุณหภูมิลดลงถึง -112 °C โอโซนจะเป็นเป็นของเหลวสีน้ำเงิน และเมื่ออุณหภูมิลดต่ำกว่า -193 °C ก็จะกลายเป็นของแข็งสีดำ
มนุษย์ได้นำโอโซนไปใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น นำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเคมีภัณฑ์ นำไปใช้เป็นสารซักฟอก ใช้ฆ่าแบคทีเรีย เป็นต้น ก๊าซโอโซนจัดเป็นก๊าซพิษ การสูดดมก๊าซโอโซนเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งแตกต่างจากคำว่าโอโซนที่บางครั้งถูกใช้ในบริบทของการท่องเที่ยวหรือการพักผ่อนหย่อนใจ เช่นในวลีว่า “สูดโอโซน”, “รับโอโซน” หรือ “แหล่งโอโซน” เป็นต้น ถือว่าเป็นการใช้โอโซนผิดความหมาย เพราะความจริงแล้วโอโซนมีความเป็นพิษต่อมนุษย์ คำว่าโอโซนที่คนจำนวนมากใช้กันผิด ๆ ก็คือ ไปใช้ในเชิงการสื่อความหมายถึงออกซิเจนหรืออากาศบริสุทธิ์ซึ่งดีต่อระบบการหายใจ โดยไม่รู้ความจริงว่าแท้จริงแล้วก๊าซโอโซนมีความเป็นพิษสูงและมีอันตรายต่อสุขภาพ
โอโซนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- โอโซนจากธรรมชาติ เป็นโอโซนตามธรรมชาติที่อยู่ในชั้นบรรยากาศสูงๆ สูงจากพื้นดินมากกว่า 40 กิโลเมตรขึ้นไป ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายจากรังสี UV (อัลตร้าไวโอเล็ต)
- โอโซนก๊าชพิษ เป็นก๊าซที่มีพิษในอากาศชั้นล่าง สูงจากพื้นดินไม่เกิน 2 กิโลเมตร จัดว่าเป็นโอโซนซึ่งจะมีผลกระทบ โดยตรงต่อมนุษย์
โอโซน ตามธรรมชาติ (Good Ozone)
โอโซนในชั้นดังกล่าวนี้ทำหน้าที่กั้นไม่ให้รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet, UV) ส่องมายังโลกในปริมาณที่มากเกินไป โดยทั่วไปรังสีอัลตราไวโอเลตชนิดซี (UVC) ที่มีความยาวคลื่นในช่วง 200-80 นาโนเมตร (nm) จะทำให้เกิดโอโซนในบรรยากาศและรังสีอัลตราไวโอเลตชนิดบี (UVB) ความยาวคลื่นในช่วง 280 -320 นาโนเมตร (nm) จะถูกกั้นโดยชั้นบรรยากาศโอโซนเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ส่วนรังสีอัลตราไวโอเลตชนิดเอ (UVA)ที่มีความยาวคลื่นมากกว่า320 นาโนเมตรนี้เป็นประโยชน์ต่อคนเราเนื่องจากช่วยในการสร้างวิตามินดี
โอโซนระดับพื้นดิน
โอโซนระดับพื้นดินซึ่งจัดว่าเป็นโอโซนประเภทไม่ดี นอกจากอาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยมีแสงสว่างเป็นตัวเร่งแล้ว ยังอาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ เช่น แสงแดดที่มากเกินไป การขนส่งหรือกระบวนการผลิตจากแหล่งอุตสาหกรรม และอุปกรณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อผลิตโอโซน โอโซนที่อยู่รอบตัวของมนุษย์ในปัจจุบันนั้นไม่ใช่ในชั้นบรรยากาศโอโซน ถือว่ามีความหมายในเชิงลบต่อสิ่งมีชีวิตโดยตรง
บรรยากาศของโลก
โทรโพสเฟียร์ Troposphere) บรรยากาศชั้นล่างสุดสูงจากผิวโลก 8 – 15 กิโลเมตร มีอิทธิพลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมากที่สุด อากาศที่มนุษย์หายใจเข้าไปคืออากาศชั้นนี้ เมฆ พายุ ลม และลักษณะอากาศต่าง ๆ เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นนี้ อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งและรวดเร็วกว่าบรรยากาศชั้นอื่น ๆ อยู่ระหว่าง 0-10 กม. โดยอุณหภูมิจะค่อย ๆ ลดลงตามความสูง โดยเฉลี่ยกม.ละ 6.5 องศา c เป็นชั้นที่สำคัญมากเพราะเป็นบริเวณที่มีไอนำ เมฆ หมอก และพาย มีก๊าซที่สำคัญคือ ไอ น้ำ มีไอน้ำมหาศาล ก่อให้เกิดเมฆ หมอก พายุ และฝน
สตราโทสเฟียร์ stratosphere) เป็นชั้นบรรยากาศของโลกชั้นที่สอง อยู่ระหว่างชั้นโทรโพสเฟียร์และมีโซสเฟียร์ มีระยะตั้งแต่ความสูง 10 กิโลเมตร จนถึง 50 กิโลเมตร เครื่องบินจะบินอยู่ในชั้นนี้ มีอากาศเบาบาง เมฆน้อยมาก เนื่องจากปริมาณไอน้ำน้อย อากาศไม่แปรปรวน มีแก๊สโอโซนมาก มีความชื้นต่ำมาก มีปริมาณของฝุ่นละอองน้อย ดูดกลีนรีงสีอัลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์ไว้ป้องกันอัตรายแก่พืช และผิวหนังมนุษย์ เครื่องบินมักบินในตอนล่างของชั้นบรรยากาศนี้เพื่อหลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่รุนแรงในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์
มีโซสเฟียร์ mesosphere) เป็นชั้นบรรยากาศของโลกชั้นที่สาม อยู่ระหว่างชั้นสตราโทสเฟียร์และเทอร์โมสเฟียร์ มีระยะตั้งแต่ความสูง 50 กิโลเมตร จนถึง 85 กิโลเมตร ซึ่งอุณหภูมิจะลดลงตามลำดับความสูง และเป็นชั้นสุดท้ายที่มีสภาพอากาศเหมือนชั้นโทรโพสเฟียร์ กับสตราโตสเฟียร์ เมื่อมีวัตถุจากอวกาศตกลงมาบนผิวโลก เมื่อถึงชั้นบรรยากาศนี้จะถูกเผาไหม้ก่อนถึงพื้น
เทอร์โมสเฟียร์ Thermosphere) คือ ชั้นบรรยากาศของโลกที่อยู่ระหว่างความสูง 90 – 800 กิโลเมตรเหนือโลก ในชั้นนี้ปฏิกิริยาทางเคมีของแสงทำให้ก๊าซต่างๆ ในชั้นนี้แตกตัวเป็นไอออนจึงอาจเรียกว่า ไอโอโนสเฟียร์ (ionosphere) พบว่าบรรยากาศชั้นนี้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นตามระดับความสูง ประมาณ 200 กิโลเมตรจากผิวโลกจะมีอุณหภูมิสูงกว่า 500°C และ ที่ระดับความสูง 700-800 กิโลเมตรจะมีอุณหภูมิ สูงกว่า 1000°C และสามารถเพิ่มสูงได้ถึง 2,000°C ที่อุณหภูมิสูงขึ้นก็เพราะบรรยากาศชั้นนี้มีการดูดกลืนแสง UV โดย O2 และ N2 ซึ่งโมเลกุลส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ อิออน เช่น NO+, O2 และ O+ เป็นต้น
เอกโซสเฟียร์ exosphere) เป็นชั้นบรรยากาศของโลก อยู่ถัดจากชั้นเทอร์โมสเฟียร์ มีระยะตั้งแต่ความสูง 500–1,000 กิโลเมตร จนถึง 10,000 กิโลเมตร เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่สูงที่สุด และกินพื้นที่ไปจนผสมรวมกับอวกาศ มีก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซฮีเลียมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ แต่มีอย่างเบาบาง
ฉะนั้น Ozone Free คือ ไม่มีก๊าชโอโซน ซึ่งเป็นก๊าชพิษตกค้างในอากาศ
Ozone Free ไม่มีสารตกค้าง
Philips เลือกใช้หลอดไฟฆ่าเชื้อยูวีซี ชนิดความยาวคลื่น 253.7nm ซึ่งไม่ปล่อย Ozone
หากถ้าใช้หลอดไฟฆ่าเชื้อ UV-C ที่ใช้มีความยาวคลื่นต่ำกว่า 240nm ที่สามารถหาได้ง่ายตามแหล่งต่างๆ จะเป็นหลอดไฟฆ่าเชื้อ UVC ชนิดความยาวคลื่น 185nm ที่มีราคาถูกและมีความสามารถในการฆ่าเชื้อโรคอย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรและยังปล่อย Ozone ที่มีอันตรายออกมาอีกด้วย
ข้อมูล : สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ,th.wikipedia.org/wiki