ข้อจำกัด และการระวังการใช้งานหลอด UV-C

🚩ข้อจำกัด และการระวังการใช้งานหลอด UV-C🚩

☑ UV-C ต้องถูกเชื้อโรคโดยตรงเท่านั้น ถ้าเชื้อโรคซ่อนอยู่ในเงาของวัตถุ เชื้อโรคนั้นจะไม่ตาย


☑ UV-C จะต้องถูกเชื้อโรคเป็นระยะเวลานานพอ (นานแค่ไหนขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรค) จึงจะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ซึ่งเชื้อโรคบางชนิดทนต่อรังสี UV-C ได้นานมาก

☑ UV-C ถูกดูดซึมได้ง่าย จึงควรใช้ในที่อากาศแห้ง เพราะจะมีประสิทธิภาพดีที่สุด และใช้ขนาด Dose น้อยที่สุด ถ้าใช้ในอากาศชื้นมากๆ ต้องใช้ขนาด Dose เป็นสองเท่า ถ้าใช้ในน้ำดื่มธรรมดาจากนํ้าก๊อก อาจต้องใช้มากถึงสิบเท่า


☑ การใช้หลอดUV-C ควรระวังไม่ให้ถูกตาและผิวหนังของคนโดยตรง ส่งผลให้ผิวหนังได้หรือตาบอดได้ (ถ้าสะท้อนจากผนัง ก็ต้องคอยระวังไม่ให้นานเกินไป) หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงโดยตรงเช่นขณะเปิดใช้งานจะต้องไม่มีคนอยู่ในบริเวณนั้นๆ และมีไฟแสดงหน้าห้องว่ามีการเปิดใช้งานหลอด UV-C เพื่อป้องกันไม่ให้มีคนเข้าออกในพื้นที่การทำงานของหลอดไฟ ควรเป็นพื้นที่ระบบปิด เลือกใช้ระบบรีโมตในการเปิดปิดระยะไกล หรือใช้วิธีการเปิดปิดไฟได้สองทาง

☑ การติดตั้ง ควรใช้ฐานหลอดไฟเฉพาะ ที่มีสัญลักษณ์แจ้งเตือนอันตราย เพื่อให้ผู้อื่นทราบ และเป็นจุดบ่งบอกให้ทราบว่าตำแหน่งนี้จะต้องติดตั้งหลอดไฟ UVC

☑ แสง UVC มีความเข้มแสงที่ลดลง ตามระยะห่างจากแหล่งกำเนิด การลดลงไม่เป็น Linear แต่มีลักษณะความเข้มแสงที่ลดลงเป็นอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน หมายความว่าถ้าห้องมีปริมาตรขนาดใหญ่หรือมีฝ้าเพดานสูง ความเข้ม

แสงอาจไม่มีประสิทธิภาพพอ หรืออาจต้องเพิ่มจำนวนหลอด

แหล่งที่มา : arch.wu.ac.th

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น