แสง UV ฆ่าเชื้อโรคได้อย่างไร
UV แสงยูวีที่นำมาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคนั้น เกิดมาจากการสังเคราะห์ UVC ขึ้นเอง นั้นก็คือระบบ “UVGI” (Ultraviolet Germicidal Irradiation) หรือ ระบบการใช้แสงยูวีที่มีความเข้มข้นสูงพิเศษ (Germicidal Range) เพื่อฆ่าและทำลายเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็น Virus Bacteria Fungi และ Yeast & Mold ที่อยู่บนพื้นผิวและในอากาศหากเชื้อโรค ได้รับปริมาณแสง UVC ในระยะเวลาที่เพียงพอ แสงยูวีจะทะลุเข้าไปใน DNA ของเชื้อโรคทำให้ DNAเพี้ยนไปจากปรกติ เชื้อโรคไม่สามารถสืบพันธุ์ต่อได้ ก็จะตายในที่สุด ซึ่งวิธีนี้จะเป็นวิธีการทำลายเชื้อโรคชนิดรุนแรง ในขณะเดียวกันก็ส่งผลต่อผิวหนังและเยื่อบุตาของคนเช่นกัน จึงต้องเลือกใช้ ปฏิบัติใช้ และการติดตั้งอย่างเคร่งครัด
แสงอัลตราไวโอเลต (UV) ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาของมนุษย์และแบ่งออกได้เป็น UV-A, UV-B และ UV-C
‼UV-A‼ ช่วงความยาวคลื่น 315 – 380 nm รู้จักกันในนามของ “Black light”เป็นรังสีที่มีอันตรายและระคายเคืองผิวมนุษย์น้อยที่สุด สามารถนำ มาใช้เป็นประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น การทำ Skin Tanning การรักษาโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของผิวหนัง การใช้ประโยชน์ทางด้านเคมี, ฟิสิกส์
‼UV-B‼ ช่วงความยาวคลื่น 280 – 315 nm ก่อให้เกิดการไหม้ของผิวหนัง (Sunburn or Erythematic) ทำให้เกิดการเผาไหม้ และการอักเสบของตาดำหรือระคายเคืองตาได้ แต่มีคุณประโยชน์ในการรักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้ รวมถึงการประยุกต์ ในงานอุตสาหกรรมเคมี
‼UV-C‼ ช่วงความยาวคลื่น 100 – 280 nm เป็นรังสีที่เป็นอันตรายต่อผิวหนังมนุษย์ถึงขั้นรุนแรง เช่น ผิวแดงไหม้เกรียม (Erythema) หรือ เยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis) หรือตาบอด ช่วยในการฆ่าเชื้อโรคได้
โดยระดับความยาวคลื่นที่ 253.7 nm มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อมากที่สุด