โปรโมชั่น!!..จากเรา สินค้ามาตรฐานแบรนด์ดังระดับโลก ✅
โปรโมชั่นราคาดี
ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ solar cell
ENERGY SOLUTIONS
พลังงานสะอาด
ยกกองทัพ แบรนด์ดังระดับโลก มาไว้ที่นี่ที่เดียว ✅
ผลงานการติดตั้ง โซล่าเซลล์ โดย Insider System ✅
เรามารู้จักระบบโซล่าเซลล์กันก่อน ✅


ผู้นำทางเทคโนโลยีในการเริ่มต้นใช้พลังงานอัจฉริยะ
อันดับ 2 ของโลก
Hoymiles ผู้นำเทคโนโลยีระดับโลก เป็นผู้ให้บริการโซลูชันที่เชี่ยวชาญใน อินเวอร์เตอร์ระดับโมดูลและระบบจัดเก็บข้อมูล ด้วยวิสัยทัศน์แห่งอนาคต เรามุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำอุตสาหกรรมพลังงานอัจฉริยะผ่านเทคโนโลยีที่ทนทานและผลิตภัณฑ์ที่เชื่อถือได้ด้วยทีมวิศวกรที่เรามีกว่า 500+ ทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญและเครือข่ายการจัดจำหน่ายและบริการครอบคลุมอเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, ยุโรป เอเชีย แอฟริกาและโอเชียเนีย Hoymiles ผู้นำเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญในกว่า 70 ประเทศและภูมิภาคที่จะเข้าร่วมการเดินทางสู่พลังงานสะอาดที่แท้จริง ตอนนี้เราเป็นที่ชื่นชอบของตลาดในฐานะพันธมิตรที่น่าเชื่อถือถึงนักลงทุน ผู้ติดตั้ง และผู้บริโภคปลายทางของเรา
rapid shutdown
Rapid shutdown คือ ระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน โดยจุดประสงค์สามารถหยุดการจ่ายกระแสไฟฟ้า DC จากแผงโซล่าเซลล์ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้แน่ใจว่าบนหลังคาของอาคารมีสภาพที่ปลอดภัยในระหว่างเกิดเพลิง เพื่อลดความเสียหายหรือ สามารถช่วยชีวิตของผู้ที่ติดอยู่ในอาคารได้อย่างปลอดภัย
โดยวงจรโซลาร์เซลล์ที่อยู่นอกขอบเขต เมื่อมีการเปิดการทำงาน rapid shutdown จะต้องสามารถลดแรงดันไฟฟ้า DC ลงเหลือไม่เกิน 30 โวลต์ภายใน 30 วินาที และสำหรับวงจรโซลาร์เซลล์ที่อยู่ภายในขอบเขต จะต้องสามารถลดแรงดันไฟฟ้า DC ลงเหลือไม่เกิน 80 โวลต์ภายใน 30 วินาที
วิธีที่เร็วที่สุดในการลดพลังงานให้กับระบบโซล่าเซลล์
แม้ในขณะที่ไฟฟ้าดับ พลังงานที่เหลืออยู่ก็เป็นอันตราย ที่สำคัญสำหรับทุกคนที่ทำงานกับการติดตั้งอินเวอร์เตอร์แบบสตริง ตั้งแต่ทีมบำรุงรักษาไปจนถึงนักดับเพลิง Rapid Shutdown จะลดแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยโดยอัตโนมัติเมื่อไฟฟ้าขัดข้อง มีความรวดเร็ว เรียบง่าย และเป็นไปตามมาตรฐานที่เข้มงวด NEC 2017/2020 และ SunSpec

Monocrystalline (Mono-Si)
เป็นแผงโซล่าเซลล์ (solar cell) ทำมาจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง เป็นผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว เริ่มมาจากแท่งซิลิคอนทรงกระบอก แล้วนำมาตัดใหม่ให้เป็นสี่เหลี่ยม แล้วทำการลบมุมทั้งสี่ด้านออก ทำให้มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมมุมตัด และมีสีที่เข้มเมื่อมองแผง Monocrystalline จากด้านนอก สีแผงจะมีสีเข้มออกไปในทางสีดำมีสีที่สม่ำเสมอกัน ทำให้มีความสวยงาม ติดตั้งเมื่อต้องการเน้นประสิทธิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าให้ได้มากๆ ในพื้นที่จำกัด
ข้อดี |
ข้อเสีย |
ประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 15-20% | ราคาแพง (หากเทียบกับแผงโซล่าเซลล์ (solar cell) ชนิดอืน |
ใช้พื้นที่ติดตั้งน้อย มีประสิทธิภาพที่สููง | หากเกิดมีสิ่งสกปรกหรือถููกบดบัังแสงบางส่วน อาจทำให้วงจรหรืืออินเวอร์เตอร์ (inverter) ไหม้ได้เพราะมีแรงดันสูงเกินไป |
อายุการใช้งานนานประมาณ 25 ปีขึ้นไป | |
ผลิิตกระแสไฟฟ้าได้มากในภาวะแสงน้อย |
Polycrystalline (Poly-Si)
เป็นแผงโซล่าเซลล์ (solar cell) ที่ทำจากผลึกรวมของซิิลิิคอนบริสุทธิ์รวมกัับแท่งซิลิคอน แล้วก็นำมาตัดเป็นแผ่น ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีการตัดมุมตัวแผงและมีสีออกเป็นสีน้ำเงิิน หากมองจากภายนอกจะเห็็นเป็นสีที่แผงโซล่าเซลล์ (solar cell) ไม่สม่ำเสมอกัน จากกระบวนการผลิต ติดตั้งเมื่อต้องการจำกัดเรื่องต้นทุน
ข้อดี |
ข้อเสีย |
ราคาถูก | ประสิทธิภาพเฉลี่ย 13-16% |
ประสิทธิภาพในพื้นที่ที่มีอุุณหภูมิสูงดีกว่าชนิด Monocrystalline | ใช้เนื้อที่ติดตั้งมากกว่า (หากต้องการประสิทธิ ภาพเท่ากับชนิด Monocrystalline) |
สีีของแผงโซล่าเซลล์ (solar cell) ไม่สวย |


Half Cell
แผงโซล่าเซลล์ (solar cell) แบบ Half Cell หรือ Half Cut จะใช้วิธีลดกำลังผลิตไฟฟ้าของแต่ละเซลล์ลงครึ่งนึง แต่จะเพิ่มจำนวนเซลล์ให้มากขึ้นเป็น 2 เท่า และต่อแยกกันเป็น 2 ชุด เสมือนการนำแผงโซล่าเซลล์ (solar cell) 2 แผงมาขนานกันนั่นเอง ข้อดี : เมื่อเซลล์ถูกเงาบัง ความสูญเสียที่เกิดขึ้นก็จะน้อยลงครึ่งนึง เมื่อเทียบกับแผงแบบปกติ

Tier1, 2, 3 มาตรฐานและความน่าเชื่อถือ
Tier1 |
Tier2 |
Tier3 |
เป็นโรงงานที่มีการควบคุมการผลิตแผงโซล่าเซลล์(solar cell) ทุกขั้นตอนตั้งแต่วัตถุดิบจนเป็นแผงโซลาร์เซลล์ (solar cell) | ไม่ได้มีหรือมีเพียงเล็กน้อย สำ หรับการลงทุนด้าน R&D | ไม่มีการลงทุนด้าน R&D |
เป็นโรงงานที่มีการลงทุุนด้าน R&D อย่างเต็็มที่และตลอดเวลา | มีกระบวนการผลิตระบบอัตโนมัติขั้นสูงเพียงบางส่วน | เป็นโรงงานประกอบแผงโซล่าเซลล์(solar cell) เท่านั้น (ไม่ ่ได้มีการผลิตวัตถุดิบหรือซิลิคอนร่วมด้วย) |
มีกระบวนการผลิตระบบอัตโนมัติขั้นสููงตลอดทั้งกระบวนการ | เป็นโรงงานที่ผลิตแผงโซล่าเซลล์(solar cell) มาแล้วตั้งแต่ 2 – 5 ปี | ใช้คนในการประกอบเป็นหลัก |
เป็นโรงงานที่ผลิตแผงโซล่าเซลล์(solar cell) มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี | เป็นโรงงานประกอบตั้งแต่ 1-2 ปี |
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ควรรู้ในเรื่องของ Tier 1 มีดังนี้
- แผงโซลาร์เซลล์ Tier-1 เป็นเพียงผู้ผลิตโมดูล Tier-1 เท่านั้นที่มีอยู่ตามรายงาน Bloomberg New Energy Finance หรือ PV Moduletech คือรายงานการจัดอันดับความสามารถในการธนาคารรายไตรมาส
- ผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์ที่ไม่อยู่ใน Tier 1 ก็ไม่ใช่ว่าจะผลิตสินค้าได้ไม่ดี เพราะผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่หรือเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลกบางรายก็ไม่ได้อยู่ในอันดับการแบ่งอันดับของแผงโซล่าเซลล์ Tier 1 นั้นเลย เช่น Panasonic, Solaria, Winaico, Solarwatt, Meyer Burger, Peimar, Tindo, Aleo และ Tesla ที่มีชื่อเสียงในอุตสาหกรรมที่โดดเด่นก็ไม่มีใครอยู่ในอันดับ Tier 1
- คำว่า Tier 1 ไม่ใช่เครื่องวัดคุณภาพของแผงโซล่าเซลล์ คำว่า Tier 1 เป็นการจัดลำดับของบริษัทที่เป็นผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์ ที่เป็นโรงงานที่มีการลงทุนทางด้านการวิจัยและพัฒนาหรือ R&D (Research & Development)
อย่างเต็็มที่และตลอดเวลา ซึ่งแต่ละผู้ผลิตก็จะมีแผงโซล่าเซลล์หลากหลายระดับคุณภาพ ฉะนั้นการเลือกแผงโซล่าเซลล์จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำว่า Tier 1 เท่านั้น - Tier 1 ไม่ใช่สถานะการรับรองอันดับของผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์นั้นตลอดไป เพราะการประเมินความสามารถของผู้ผลิต Tier 1 นั้นประเมินจากสถานะการเงินของบริษัทผู้ผลิต สถานะ Tier 1 จึงเปลี่ยนไปตามอันดับ
วิธีดู Spec ที่สำคัญของ แผงโซล่าเซลล์
คุณสมบัติต่างๆ ทางไฟฟ้าตามสเปกของแผงโซล่าเซลล์ ที่จำเป็นเพราะแต่ละค่าจะเชื่อมโยงไปในเรื่องของการออกแบบ
STC และ NOCT คืืออะไร?
ค่าต่างๆที่อยู่ใน Datasheet คือค่าจากการทดลองในเงื่อนไขของ STC และ NOCT **ซึ่งเราจะใช้ค่า STC เป็นหลักในการดูสเป็กที่สำคัญของแผงโซล่าเซลล์
STC หรือ (Standard Test Condition) มีค่าที่กำหนดเงื่อนไขดังนี้ | NOCT (Nominal Operating Cell Temperature) มีค่าที่กำหนดเงื่อนไขดังนี้ |
1.ความเข้มแสง (Irradiance) คือ ค่าความเข้มแสงกำหนดไว้ที่ 1000 W/sq.m. | 1.ความเข้มแสง (Irradiance) คือ ค่าความเข้มแสงกำหนดไว้ที่ 800 W/sq.m. |
2.อุณหภูมิ คือ อุณหภูมิของแผงโซล่าเซลล์ กำหนดไว้ที่ 25 องศาเซลเซียส | 2.อุณหภูมิ คือ อุณหภูมิของแผงโซล่าเซลล์ กำหนดไว้ที่ 20 องศาเซลเซียส |
3.ค่ามวลอากาศ (Air Mass) กำหนดไว้ที่ 1.5 | 3.ค่ามวลอากาศ (Air Mass) กำหนดไว้ที่ 1.5 |
4.ความเร็วลม ไม่มีกำหนด | 4.ความเร็วลม 1เมตร ต่อ 1 วินาที |
Pmax : Maximum Power
เป็นค่าที่แสดงถึงขนาดกำลังผลิตไฟฟ้า สูงสุด ของแผง โดยเป็นตัวเลขที่วัดค่าได้จากห้องทดลอง
Vmp : Maximum Power Voltage
เป็นค่าแรงดันสูงสุดที่แผงสามารถผลิตได้ โดยเป็นค่าแรงดันใช้งานจริงในขณะที่แผงเชื่อมต่อกับ Inverter อยู่
Imp : Maximum Power Current
เป็นค่ากระแสสูงสุดที่แผงโซลาร์เซลล์ผลิตได้ โดยเป็นค่ากระแสใช้งานจริงในขณะที่แผงเชื่อมต่อกับ Inverter อยู่
Voc : Open Circuit Voltage
เป็นค่าแรงดันของแผงที่ถูกวัดค่าในขณะที่แผงไม่ได้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ใด ๆ ซึ่งโดยปกติเวลาเลือกใช้ Inverterจะต้องดูค่าตัวเลขนี้ เพื่อดูว่าเมื่อนำ String หรือชุดแผงโซลาร์เซลล์มาอนุกรมกัน ผลรวมของแรงดันจะต้องไม่เกินค่าสูงสุดที่ Inverter รับได้ หรือไม่เกิน Max. Input Voltage ของ Inverter
Isc : Short Circuit Current
เป็นค่าที่แสดงถึงขนาดกำลังผลิตไฟฟ้า สูงสุด ของแผง โดยเป็นตัวเลขที่วัดค่าได้จากห้องทดลอง
หมายเหตุ : การติดตั้งโซล่าเซลล์ในประเทศไทยการผลิตพลังงานไฟฟ้าจะอยู่ที่ 70-80% ของแผง เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไปจึงทำให้เกิดการสูญเสียในระบบอย่างแน่นอน
การสูญเสียในระบบ(Loss in the system)
การสูญเสียในระบบหมายถึงการสูญเสียพลังงานหรือประสิทธิภาพในระบบที่ใช้งาน เป็นผลมาจากหลายปัจจัยทั้งภายในและภายนอก ซึ่งอาจมีผลต่อความสามารถของระบบในการทำงานตามประสิทธิภาพของระบบที่ออกแบบไว้ ด้วย 3 สาเหตุหลัก
- ฝุ่นและสิ่งสกปรกที่อยู่บนแผงโซล่าเซลล์ทำให้พลังงานลดลง คือ การสูญเสียพลังงานในการถ่ายโอน: การถ่ายโอนพลังงานผ่านสายไฟฟ้าสามารถสูญเสียได้เมื่อมีการแปรผันไฟฟ้าหรือการต้านทานในสายไฟฟ้า ทำให้พลังงานถูกสูญเสียและไม่สามารถใช้งานได้ตามประสิทธิภาพ ฝุ่นและสิ่งสกปรกบนแผงโซล่าเซลล์จะทำให้พลังงานที่ได้ลดลงได้ เพราะฝุ่นและสิ่งสกปรกที่อยู่บนแผงโซล่าเซลล์จะทำให้แสงที่เข้ามาตกเป็นรังสีเลี้ยง (diffused radiation) แทนที่จะเป็นแสงตรงๆ (direct radiation) ซึ่งส่งผลให้มีการสูญเสียพลังงานได้ นอกจากนี้ การสะสมฝุ่นและสิ่งสกปรกบนแผงโซล่าเซลล์ยังสามารถลดประสิทธิภาพของการแปลงพลังงานได้อีกด้วย ดังนั้น การทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดการสูญเสียพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโซล่าเซลล์ได้มากยิ่งขึ้น
- ประสิทธิภาพของอินเวอร์เตอร์มีผลต่อพลังงานที่ผลิตได้ คือ ประสิทธิภาพของอินเวอร์เตอร์ (inverter) จะมีผลต่อพลังงานที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ โดยอินเวอร์เตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แปลงไฟฟ้าจากแนวตั้งของแผงโซล่าเซลล์ (DC) เป็นแนวนอน (AC) เพื่อให้สามารถใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปในบ้านหรืออุตสาหกรรมได้ อย่างไรก็ตาม การแปลงไฟฟ้าด้วยอินเวอร์เตอร์จะมีการสูญเสียพลังงานไปบ้าง เนื่องจากอินเวอร์เตอร์ต้องใช้พลังงานในการทำงานและมีความไม่สม่ำเสมอในการแปลงไฟฟ้า ดังนั้น เลือกใช้อินเวอร์เตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงจะช่วยให้มีการสูญเสียพลังงานน้อยลง และผลิตพลังงานได้มากขึ้น ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการใช้งานแผงโซล่าเซลล์อย่างมากยิ่งขึ้น
- อุณหภูมิที่สูงขึ้นที่แผงโซล่าเซลล์จะมีผลทำให้พลังงานลดลง คือ อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นจะมีผลต่อประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ โดยทั่วไปแล้ว เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น พลังงานที่แผงโซล่าเซลล์สามารถสร้างได้จะลดลง โดยอุณหภูมิสูงขึ้นจะทำให้โมเลกุลของสารที่ใช้ในแผงโซล่าเซลล์เคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น ซึ่งส่งผลให้มีการสูญเสียพลังงานและเกิดการไหลกระแสไฟฟ้าที่ไม่สม่ำเสมอ นอกจากนี้ อุณหภูมิสูงก็สามารถทำให้เกิดการชะลอการสร้างไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์โดยลดลงจากปกติ ดังนั้นการควบคุมอุณหภูมิเป็นสิ่งสำคัญในการใช้งานแผงโซล่าเซลล์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยตลอดเวลา
ชนิดของอินเวอร์เตอร์ (Inverter)
หน้าที่ของอินเวอร์เตอร์ (inverter) คือแปลงไฟฟ้ากระแสตรง(DC) ที่มาจากแผงโซล่าเซลล์ (solar cell) ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ(AC) ซึ่งเป็นประเภทของไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านเรือนทั่วๆ ไป โดยปกติแล้วอินเวอร์เตอร์ (inverter) ที่ใช้งานกับโซล่าเซลล์ (solar cell) จะแบ่งเป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้

ประเภทของ On-grid Inverter จะมี 3 ประเภท ดังนี้

Central Inverter
อินเวอร์เตอร์ (inverter) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เพราะเครื่องอินเวอร์เตอร์ (inverter) สามารถรองรับ PV Panels ได้เป็นจำนวนมาก สามารถรองรับได้ทั้งโครงการ (ขนาดใหญ่) สามารถใช้อินเวอร์เตอร์ (inverter) เพียงเครื่องเดียวได้
ข้อดี |
ข้อเสีย |
ง่ายต่อการออกแบบเพราะมีตัวเดียว | ยากต่อการขยายระบบในอนาคต |
ราคาต่อวัตต์ถูกกว่าชนิดอื่น | ถ้า inverter มีีปัญหาจะทำให้ผลิตไฟฟ้าไม่ได้ทั้งระบบ |
มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก ทำให้หาพื้นที่ติดตั้งค่อนข้างยาก |
String Inverter
อินเวอร์เตอร์ (inverter) ที่มีหลากหลายขนาดตามแต่การออกแบบซึ่งเหมาะกับการติดตั้งแบบ Rooftop มากที่สุดในปัจจุบัน
ข้อดี |
ข้อเสีย |
ขนาดไม่ใหญ่เกินไป หาพื้นที่ติดตั้งง่าย | ราคาต่อวัตต์สูงกว่าแบบ Central inverter |
ให้กำลังผลิตโดยรวมดีกว่า | การดูแลรักษามากกว่า เพราะบางโครงการอาจมีหลายตัว |
ขยายระบบในอนาคตได้ง่าย | |
ถ้าเกิดความเสียหายใน inverter ตัวใดตัวหนึ่ง ตัวอื่นๆก็ยังทำงานได้อยู่ |


Micro Inverter
อินเวอร์เตอร์ (micro inverter) ที่มีขนาดเล็กที่สุด โดยจะติดตั้ง 1 ตัวต่อ 1 แผงซึ่งก็จะทำให้ไฟฟ้าที่ออกจากแผงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ(AC) นิยมเลือกใช้กับระบบที่มีกำลังการผลิตไม่มาก
ข้อดี |
ข้อเสีย |
ง่ายต่อการออกแบบเพราะมีตัวเดียว | ราคาต่อวัตต์สููง |
มีความสูญเสียในระบบน้อยที่สุด | การดู แลรักษามากกว่า เพราะต้องใช้จำนวนมาก (1ตััว ต่่อ 1 แผง) |
ขยายระบบในอนาคตได้ง่าย | |
ไม่เปลืองสายไฟด้าน DC |
อินเวอร์เตอร์ (inverter) ที่ใช้งานกับโซล่าเซลล์ (solar cell) มี 3 ประเภท
1.ออนกริด อินเวอร์เตอร์ (On-grid Inverter)
อินเวอร์เตอร์ (inverter) ชนิดนี้มีไว้สำหรับเชื่อมต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าภายในบ้าน โดยต้องทำงานร่วมกับไฟฟ้าที่มาจากการไฟฟ้าเสมอ หรืออาจจะใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าแล้วส่งไปขายให้กับการไฟฟ้าซึ่งคำว่า Grid นั้นจะหมายถึึง Power Grid คือ ระบบจ่ายไฟของทางการไฟฟ้า
นอกจากนี้้กรณีที่ไฟฟ้าดับหรือไฟตก ไฟเกินกว่าระดับที่ตั้งไว้อินเวอร์เตอร์ (inverter) แบบนี้จะต้องตัดไม่ให้มีการจ่ายไฟออกไปสู่ระบบสายส่งของทางการไฟฟ้า เพื่อไม่ให้มีไฟฟ้าไหลออกไปทำอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ที่มาปฏิบััติงาน ของทางการไฟฟ้า
2.ออฟกริด อินเวอร์เตอร์ (Off-grid Inverter)
อินเวอร์เตอร์ (inverter) นี้จะได้รับไฟกระแสตรงมาจากแบตเตอรี่ (Battery) ไม่ควรนำโซล่าเซลล์ (solar cell) มาต่อโดยตรง การใช้งานระบบนี้จะต้องนำแผงโซล่าเซลล์ (solar cell) มาชาร์จพลังงานลงสู่แบตเตอรรี่ก่อน ซึ่งก็จะต้องมีวงจรการควบคุมการชาร์จแบตเตอรี่ (Charge Controller) ซึ่งก็อาจจะแตกต่างกันไปตามแบตเตอรี่ที่ใช้ด้วยแม้ว่าอินเวอร์เตอร์ (inverter) ชนิดนี้จะไม่ต้องเชื่อมต่อกับระบบจ่ายไฟของการไฟฟ้า จึงไม่ถูกควบคุมว่าต้องใช้ยีห้อที่การไฟฟ้าอนุมัติแต่ก็ควรใช้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัย
3.ไฮบริด อินเวอร์เตอร์ (Hybrid Inverter)
ไฮบริดอินเวอร์เตอร์เป็นระบบระหว่าง On-grid และระบบ Off-grid Inverter เพราะสามารถใช้งานเพื่อประหยัดพลังงานได้ในตอนกลางวัน และยังสามารถสำรองไฟเอาไว้ใช้ในเวลากลางคืน สามารถมีไฟฟ้าจากระบบโซล่าได้ตลอด 24 ชั่วโมง
สินค้า solar cell เรามีทุกสเปคเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าทุกระดับ ✅



มาตรฐานรับรองผลิตภัณฑ์ระบบโซล่าเซลล์ solar cell ✅

➡️ สาระน่ารู้ และข่าวสาร ✅
